วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bi poalr)








โรคอารมณ์สองขั้ว  เป็นอย่างไร?

                โรคอารมณ์สองขั้วหรืออีกชื่อคือโรคอารมณ์แปรปรวน
บางครั้งอาจใช้ชื่อทับศัพท์ ว่าโรคไบโพล่าร์ คือ คนไข้มีอารมณ์ที่
ผิดปกติ ไม่ว่าจะซึมเศร้าหรือร่าเริงเกินเหตุทั้งระดับความรุนแรง
และระยะเวลาจนก่อให้เกิดผลกระทบ โดยแสดงความผิดปกติทางคำพูด
ความคิด ร่างกายและพฤติกรรม ถึงขั้นที่ผู้ป่วยรู้สึกว่ารบกวนจิตใจตนเอง
มีอาการเครียด คิดมาก หรือรบกวนผู้อื่นและสังคม จนส่งผลกระทบทั้งด้าน
การเรียน การงาน ความรักหรือการสังคม  โรคนี้พบได้บ่อยแต่ยังไม่เป็นที่

รู้จักเพราะคนไข้มักไม่ได้เปิดเผยเอง  
                แพทย์อาจอธิบายกับผู้ป่วยว่าเป็น “โรคจิต” “อารมณ์แปรปรวน”
  “เครียด” “คิดมากไปเอง” ครอบครัวมองว่าผู้ป่วยเสแสร้งแกล้งเป็นบ้า
เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือผีเข้า หรือถูกของต้องไสยศาสตร์ เป็นต้น
ผู้ป่วยช่วงที่ป่วยจะคล้ายคนนิสัยไม่ดี ก้าวร้าว ไม่รับผิดชอบ เอาแต่สนุก
และก่อกวนชาวบ้าน บางรายอาจเป้นคดีความ แต่ก็เป็นจากความป่วย


ถ้าเป็นโรคนี้จะมีอาการอย่างไรบ้าง?
               
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorders) คือ มีอาการเมเนีย (คลุ้มคลั่ง) 
ภาวะซึมเศร้ารุนแรง โดยส่วนใหญ่จะมีอารมณ์ซึมเศร้าแล้วเปลี่ยนเป็นเมเนีย จำแนกตามอาการเป็น          
                s     ภาวะเมเนีย (Mania)เป็นขั้วของอารมณ์สนุกคึกคักเกินเหตุ  พบว่าในผู้ป่วยบางรายอาจจะ
ไม่แสดงออกมาเป็นความร่าเริงหรือสนุกสนาน แต่กลับมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว แปรปรวน
เดี๋ยวอารมณ์ดี ร่าเริง เดี๋ยวเปลี่ยนเป็นอารมณ์โศกเศร้า ร้องห่มร้องไห้ในระยะเวลาสั้นๆ
เมื่อมีคำพูดหรือเหตุการณ์มาจี้จุดให้สะเทือนใจ เหมือนอาการสติแตก อาละวาด
ทำลายข้าวของหรือทำร้ายคนอื่นได้  อาการอื่นๆ ได้แก่ 

1.        มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ขยันทำนั่นทำนี่ไม่หยุด แต่ไม่ค่อยได้ผลงาน เพราะใจวอกแวกหันเห
ความสนใจได้ง่าย สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือการเมือง การศาสนามากจนเป็นที่ผิดสังเกต
เช่น เที่ยวเก่ง ใช้เงินเก่ง แจกเงินแจกสิ่งของ หรือโทรศัพท์รบกวนญาติมิตรบ่อยๆ วันละสิบๆ
ครั้งอย่างไม่เหมาะสม ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกง่วง อาจนอนไม่หลับได้หลายๆ วันโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
2.        มีกิจกรรมหรือมีความสนใจทางเพศมากขึ้น มีอารมณ์เพศสูงขึ้น และควบคุมตนเองไม่ได้
ทำให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เกิดผลกระทบตามมาได้มาก เช่น การตั้งครรภ์หรือติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
3.        นิสัยเปลี่ยนจากเงียบขรึม พูดน้อยกลายเป็นคนช่างคุย ชอบสังคมผิดเป็นคนละคน พูดคุยเสียงดัง
พูดมาก พูดไม่หยุดจนเสียงแหบแห้ง
4.        มั่นใจตนเองสูง จนขาดความยับยั้งชั่งใจ กระทำในสิ่งที่เป็นภัยอันตราย เช่น ขับรถเร็ว
กลายเป็นคนไม่รู้กาลเทศะ ไม่เกรงใจใคร เอาแต่ใจ เรียกร้องต้องการ ทำตัวเหนือผู้อื่น
หรือจุ้นจ้านวุ่นวาย แม้กับคนแปลกหน้า คุยโม้โอ้อวดตนเอง ฮึกเหิม และก่อเรื่องทะเลาะวิวาท
ทำร้ายผู้อื่นหรือถูกทำร้ายได้เพราะไม่มีใครตระหนักว่าป่วย 

                s     ภาวะซึมเศร้า  จำแนกเป็น
                        -       ภาวะซึมเศร้ารุนแรง  ผู้ป่วยจะมีสีหน้าเคร่งเครียด ขรึม เศร้าซึม อ่อนเพลีย
อ่อนไหวร้องไห้ง่าย ท้อแท้ หดหู่ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีความสุข ลังเลใจตัดสินใจยาก รู้สึกเหมือนทำผิดบาป
หมดหวังในชีวิตจนคิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา อาการมักเห็นชัดเจนหรือพฤติกรรม
เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเวลาเมเนีย
                        -       ภาวะซึมเศร้าไม่รุนแรง มีอาการซึมเศร้าระดับไม่รุนแรง มักจะคิดมาก
อารมณ์อ่อนไหว น้อยใจง่าย ขาดความมั่นใจ ลังเลใจ รู้สึกไม่มีความสุข แต่อาการไม่เห็นเด่นชัด
คนรองข้างไม่เห็นความผิดปกติ

 
โรคอารมณ์สองขั้วนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
                สาเหตุของโรคอารมณ์สองขั้ว  ก็เช่นเดียวกับโรคทางจิตอื่นๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน
เชื่อว่าสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกันทั้งด้านชีวภาพ จิตใจ และสังคม
ปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่ามีการทำงานที่ผิดปกติของสมองส่วนลิมบิก
ซึ่งควบคุมอารมณ์เสมือนมีการชักทางอารมณ์ แทนที่จะชักกระตุกตามร่างกาย
กลับทำให้อารมณืแกว่งขึ้นลงรุนแรง โรคนี้ตอบสนองดีต่อยากันชักด้วยเช่นกันเพราะมีปัญหาในสมองคล้ายคลึงกัน

 
โรคอารมณ์สองขั้ว รักษาหายได้?
การรักษาโรคนี้คือ
                1.     การใช้ยากลุ่มควบคุมอารมณ์ เช่น ยาลิเทียมคาร์บอเนต ยาควบคุมการชัก
หรือยารักษาอาการโรคจิต ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาไปนานหลายปี เนื่องจากเป็นโรคที่เรื้อรังและ
กำเริบได้บ่อย เมื่อเป็นครั้งแรกมีโอกาสกำเริบถึงร้อยละ 60-80 ในเวลา 5 ปีต่อมา
                2.     จิตบำบัด นิยมใช้จิตบำบัดแบบประคับประคอง แนะแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุง
สภาพแวดล้อม บุคลิกหรือทักษะการมีความสัมพันธ์ที่ดีและครอบครัวบำบัด 
พบว่าการรักษาด้วยจิตบำบัดปรับปรุงแก้ไขสภาพสังคมหรือปัญหาความขัดแย้งร่วม
ไปด้วยและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง จะลดอัตราการกำเริบของโรคได้มาก
ความเข้าใจของครอบครัวและคนรอบข้างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโรคนี้ดูเผินๆ คล้ายคนปกติ
ยังพูดจารู้เรื่อง ในระหว่างที่คนไข้มีอาการอาจสร้างปัญหาให้ทางบ้านได้อย่างมโหฬาร
ญาติและคนใกล้ชิดควรยอมรับ เห็นใจและช่วยดูแลรักษาในช่วงที่คนไข้ดูแลตนเองได้ไม่ดี

 เครดิต http://www.cumentalhealth.com 

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://women.postjung.com/1149.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น